สิ่งแวดล้อม มลภาวะ ของเสีย
กฎระเบียบ
ไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม
การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการซ่อมบำรุง พ.ศ. 2565
2565/11/2
8
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 259 ง (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565) หน้า 25-28 (ท้ายประกาศ 4 หน้า)
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการซ่อมบำรุง พ.ศ. 2565
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการซ่อมบำรุงซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดอากาศเสีย อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 จัตวา ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“การซ่อมบำรุงใหญ่” หมายถึง การซ่อมบำรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโรงงานที่ได้มีการวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้าตามช่วงเวลา เพื่อดำเนินการซ่อมบำรุงประจำปี (Annual Shutdown) หรือการหยุดเดินเครื่องของโรงงานหรือหน่วยผลิตหลัก (Turnaround) โดยมีการไล่ก๊าซหรือของเหลวออกจากกระบวนการผลิต และหรือมีการเปิดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทั้งนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การหยุดเครื่องจักร การซ่อมบำรุง และการเริ่มเดินเครื่องจักร
“การซ่อมบำรุง” หมายถึง การซ่อมบำรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโรงงานที่ได้มีการวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า ซึ่งต้องหยุดการผลิตบางส่วนที่ไม่ใช่การซ่อมบำรุงใหญ่ โดยมีการไล่ก๊าซหรือของเหลวออกจากกระบวนการผลิต และหรือมีการเปิดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทั้งนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การหยุดเครื่องจักร การซ่อมบำรุง และการเริ่มเดินเครื่องจักร
“สารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds: VOCs)” หมายถึง สารประกอบที่มีคาร์บอนอินทรีย์ (Organic Carbon) เป็นองค์ประกอบหลัก และมีความดันไอมากกว่า 0.1 มิลลิเมตรปรอท ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศ 760 มิลลิเมตรปรอท ยกเว้น มีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ โลหะคาร์ไบด์ หรือคาร์บอเนต แอมโมเนียมคาร์บอเนต
“ระบบควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหย (Vapor Control System)” หมายถึง ระบบท่อ ถัง อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมไอสารอินทรีย์ระเหย และอุปกรณ์ควบคุมใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อลดการระบายสารอินทรีย์ระเหยสู่บรรยากาศ เช่น เตาเผาโดยตรงในห้องเผาไหม้ (Direct-flame Incinerator) เตาเผาแบบอุณหภูมิสูง (Thermal Oxidizer) เตาเผาแบบมีสารเร่งปฏิกิริยา (Catalytic Incinerator) ระบบควบแน่น (Condensation System) หอดูดซึม (Scrubber) การดูดซับด้วยคาร์บอน (Carbon Adsorption) หน่วยน าไอกลับมาใช้ (Vapor Recovery Unit: VRU) เป็นต้น ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 หรือมีการระบายสารอินทรีย์ระเหยน้อยกว่า 500 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับโรงงานในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงานตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ดังนี้ ....