รายละเอียดเอกสาร

สิ่งแวดล้อม มลภาวะ ของเสีย

กฎระเบียบ

ไทย

กระทรวงอุตสาหกรรม

การควบคุมการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565

2565/11/2

6

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 259 ง (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565) หน้า 22-24 (ท้ายประกาศ 3 หน้า)

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมการใช้หอเผาทิ้งในการประกอบกิจการโรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดอากาศเสีย อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 จัตวา ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้

“หอเผาทิ้ง (Flare)” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้เปลวไฟและอากาศที่ไม่ได้ถูกควบคุมจากบริเวณโดยรอบเปลวไฟ ในการเผาไหม้ไอสารอินทรีย์ระเหยที่ระบายออกจากกระบวนการผลิตหรือจากกากักเก็บสาร ทั้งในลักษณะต่อเนื่อง และลักษณะเป็นช่วงไม่ต่อเนื่องกัน

“สารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds: VOCs)” หมายถึง สารประกอบที่มีคาร์บอนอินทรีย์ (Organic Carbon) เป็นองค์ประกอบหลัก และมีความดันไอมากกว่า 0.1 มิลลิเมตรปรอท ที่อุณหภูมิ ๒๐ องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศ 760 มิลลิเมตรปรอท ยกเว้น มีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ โลหะคาร์ไบด์ หรือคาร์บอเนต แอมโมเนียมคาร์บอเนต

“สารไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbons)” หมายถึง สารประกอบที่มีคาร์บอนอินทรีย์ (Organic Carbon) เป็นองค์ประกอบหลัก ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับหอเผาทิ้งที่รับเฉพาะก๊าซหรืออากาศเสียที่เกิดจากระบบบำบัดน้ำเสีย

ข้อ 3 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับโรงงานที่มีหอเผาทิ้งในโรงงานหรือมีหอเผาทิ้งเป็นส่วนเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโรงงานในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงานตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ดังนี้ ....