รายละเอียดเอกสาร

อื่น ๆ

กฎระเบียบ

ไทย

สภาเทคนิคการแพทย์

การตรวจวิเคราะห์ด้วยการตรวจเลือดสด (Live Blood Analysis) ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

2566/6/1

2

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 127 ง (1 มิถุนายน พ.ศ. 2566) หน้า 33-34

ประกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง การตรวจวิเคราะห์ด้วยการตรวจเลือดสด (Live Blood Analysis) ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

   เนื่องจากมีบางหน่วยงานหรือองค์กร ได้นำวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เรียกว่าการตรวจเลือดสดหรือ Live Blood Cell Analysis (LBA) เข้ามาให้บริการกับประชาชน โดยมีการประชาสัมพันธ์ว่า “การดูลักษณะเม็ดเลือดในเลือดสดเพียงหยดเดียวด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพื้นหลังมืด (dark field microscope) สามารถระบุว่ามีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้” เช่น 1. การวิเคราะห์ความสมบูรณ์ทางชีวภาพของเม็ดเลือด ภาวะเลือดผิดปกติ ภาวะเลือดจาง 2. การมีสารโลหะหนักสะสมในร่างกาย 3. แนวโน้มในการเป็นภูมิแพ้และความไม่สมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน 4. ความเป็นพิษในระบบทางเดินอาหาร ตับ ไต 5. การมีเชื้อแบคทีเรียและพยาธิแอบแฝง 6. การบ่งชี้สารอนุมูลอิสระในเลือด 7. การมีไขมันตกค้างในระบบไหลเวียนโลหิต 8. ภาวะขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด 9. ความผิดปกติในระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ของร่างกาย

 เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชนที่รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์กระทำผิดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ จนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินการด้านจรรยาบรรณ และป้องกันมิให้มีผู้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการกระทำดังกล่าว อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ประกอบประกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2564 ข้อ 12 (2) นายกสภาเทคนิคการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 วันที่ 20 มีนาคม 2566 จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การตรวจวิเคราะห์ด้วยการตรวจเลือดสด (Live blood analysis) ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เนื่องจากตามหลักวิชาการทางวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ด้วยเหตุผลดังนี้ ....