รายละเอียดเอกสาร

สิ่งทอและเส้นใย

บทความ

ไทย

ไม่ระบุ

ผลของการปรับสภาพชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลสด้วยคลื่นอัลตราโซนิคร่วมกับสารเคมีต่อลักษณะทางสัณฐานของเส้นใยเซลลูโลส (The effect on morphological change of cellulose fibers by sonochemical-assisted pretreatment of lignocellusic biomass)

2561

11

วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน 2561, หน้า 26-36

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับสภาพด้วยคลื่นอัลตราโซนิค (ความถี่ 44-48 กิโลเฮิรตซ์ เป็นเวลา 60 นาที) ร่วมกับสารเคมี (สารละลายกรดซัลฟูริคความเข้มข้นร้อยละ 64 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ที่มีต่อลักษณะสัณฐานวิทยาของชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลส 9 ชนิด ได้แก่ ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้าวโพด ธูปฤๅษี ผักตบชวา หญ้าเนเปีย แก่นตะวัน กาบกล้วย และขุยมะพร้าว พบว่าการปรับสภาพมีผลต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลส เมื่อทำการวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าโครงสร้างของเส้นใยมีการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์จากเครื่อง Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR) พบว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีที่บ่งบอกถึงองค์ประกอบทางเคมีของเส้นใย ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน โดยมีการลดลงของหมู่ฟังก์ชันของเฮมิเซลลูโลสและลิกนิน ดังนั้นการปรับสภาพด้วยคลื่นอัลตราโซนิคร่วมกับสารเคมีจึงเป็นอีกวิธีการที่น่าสนใจ ที่สามารถนำไปประยุกต์เพื่อเตรียมเส้นใยจากชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลสได้ต่อไปในอนาคต