อื่น ๆ
กฎระเบียบ
ไทย
กรมปศุสัตว์
นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 (Case Definition for Notifiable Avian Influenza) พ.ศ. 2566
2566/3/24
2
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 70 ง (24 มีนาคม พ.ศ. 2566) หน้า 23-24
จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547- 2551 กรมปศุสัตว์ได้ใช้มาตรการสำคัญคือการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ทั้งการเฝ้าระวังเชิงรับและเชิงรุก ด้วยอาการทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยกำหนดให้โรคไข้หวัดนกเป็นโรคระบาดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เกิดประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมปศุสัตว์ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 (Case Definition for Notifiable Avian Influenza) พ.ศ. 2566”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 และประกาศ กรมปศุสัตว์ เรื่อง นิยามโรคไข้หวัดนกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 4 กำหนดนิยามของสัตว์ปีกที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก ดังนี้
(๑) โรคไข้หวัดนก กรณีการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ หมายความว่า โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่าเอ (Influenza A virus) ใด ๆ ก็ตามที่เกิดจากชนิด H5 หรือ H7 ที่ได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการตามวิธีมาตรฐานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) หรือโดยเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่าเอ (Influenza A virus) ใด ๆ ที่มีค่าดัชนีการก่อโรคเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous Pathogenicity index : IVPI ) มากกว่า 1.2 หรือมีอัตราการตาย อย่างน้อยร้อยละ 75 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง และโรคไข้หวัดนก ชนิดไม่รุนแรง .....