รายละเอียดเอกสาร

คอนกรีตและวัสดุก่อสร้าง

กฎระเบียบ

ไทย

กระทรวงมหาดไทย

พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

2566/3/19

10

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 20 ก (19 มีนาคม พ.ศ. 2566) หน้า 48-55 (ท้ายประกาศ 2 หน้า)

พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “สถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียน” “สถาปนิกขึ้นทะเบียน” และ “สภานายกพิเศษ” ระหว่างบทนิยามคำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม” และ “สมาชิก” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543

““สถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย ซึ่งได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมจากประเทศที่สภาสถาปนิกประกาศกำหนด ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสภาสถาปนิกให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี “สถาปนิกขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และได้รับการขึ้นทะเบียนจากสภาสถาปนิกให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศที่สภาสถาปนิกประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี “สภานายกพิเศษ” หมายความว่า สภานายกพิเศษแห่งสภาสถาปนิก” มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “(3/1) กำหนดมาตรฐานวิชาการขั้นพื้นฐานเพื่อการรับรองการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม” .....

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการค้าบริการสาขาสถาปัตยกรรม โดยกำหนดให้สถาปนิกต่างชาติซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวสามารถเข้ามาประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมในประเทศไทย และให้ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาสถาปนิกสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อไปประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศภาคีความตกลงระหว่างประเทศได้ แต่โดยกฎหมายว่าด้วยสถาปนิกที่ใช้บังคับอยู่ขณะนี้ยังไม่มีบทบัญญัติที่รองรับการดำเนินการตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีดังกล่าว รวมทั้งความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่อาจมีขึ้นในอนาคต สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการรองรับกรณีดังกล่าว และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาสถาปนิก กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และมาตรการทางจรรยาบรรณของสถาปนิกต่างชาติและสถาปนิกขึ้นทะเบียน และกำหนดให้สมาชิกสภาสถาปนิกทุกคนต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและความเที่ยงตรงแห่งวิชาชีพ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้