27 ก.พ. 67
World Bank ชี้ ไทยกำลังเผชิญ “วิกฤติทักษะทุนชีวิต” 3 ด้านสำคัญของการพัฒนาประเทศ ในศตวรรษที่ 21 ฉุดประเทศ แบกต้นทุน 3.3 ล้านล้านบาท พบเยาวชน-คนสูงวัย ทักษะต่ำกว่าเกณฑ์ เพิ่มความต่างทางรายได้ ขณะ 2 ใน3 ไม่มีความสามารถในการอ่านและเข้าใจข้อความสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาง่ายๆ เจาะเบื้องหลังปัญหา มาจากการเรียนรู้ที่ไม่เท่าเทียม และมีคุณภาพไม่เพียงพอตั้งแต่ปฐมวัย
“คนสร้างชาติ-ชาติสร้างคน” กลายเป็นคำกล่าวที่น่าขบคิดมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทย เพราะนอกจากวันนี้ ปัญหา “หนี้ครัวเรือนไทย” จะฉุดรั้งทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ที่มีปัญหา ตั้งแต่จำนวนลดน้อยถอยลง จากโครงสร้างประชากรเปลี่ยน คนสูงวัยล้นประเทศ ในแง่ “คุณภาพ” ก็มีความน่าเป็นห่วงเช่นกัน ล่าสุด World Bank Thailand (ธนาคารโลก) ชี้ให้เห็นวิกฤติดังกล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติ #ทักษะทุนชีวิต หรือ #FoundationalSkills คล้ายกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาค กล่าวคือมีเยาวชนและคนสูงวัยจำนวนมากที่มีทักษะทุนชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ ตั้งแต่กลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความสามารถในการอ่านหนังสือขั้นพื้นฐาน และการคำนวณอย่างง่ายๆ ไปจนถึงการเปิดรับสิ่งใหม่ และทักษะที่สำคัญแห่งอนาคตอย่าง “ทักษะดิจิทัล” ที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก ซึ่งการมีทักษะพื้นฐานของทุนชีวิตข้างต้น จะส่งผลต่อการทำงานในอนาคตด้วย โดยมี 3 องค์ประกอบดังนี้ การอ่านออกเขียนได้ (literacy) ทักษะด้านดิจิทัล (digital skill) ทักษะทางสังคมและอารมณ์ (sociomotional skill) ....