23 ก.พ. 67
ETDA สรุปเนื้อหาจากการเปิดพื้นที่ ชวนผู้ที่ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “เจาะอินไซต์ AI ในยุคเติมเต็มงานศิลป์ ใช้อย่างไรไม่ให้ถูกทำลายอย่างประณีต”
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) หน่วยงานที่มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยมีความตระหนักและนำ AI ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมได้สรุปเนื้อหาจากการเปิดพื้นที่ ชวนผู้ที่ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “เจาะอินไซต์ AI ในยุคเติมเต็มงานศิลป์ ใช้อย่างไรไม่ให้ถูกทำลายอย่างประณีต” เริ่มจาก พิลาวัลย์ บัวงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิต บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่นำ AI มาเปิดมิติใหม่ให้วงการทีวีไทยผ่านรายการ Face off แฝดคนละฝา โดยนำเทคโนโลยี Deepfake มาสร้างทั้งภาพและเสียงของบุคคลในวีดิโอให้เหมือนแขกรับเชิญในรายการ โดยเปิดเผยว่ากว่าจะสำเร็จออกมาเป็นรายการอย่างที่เราๆ ได้ดูนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทีมงานต้องลองผิดลองถูก พยายามเรียนรู้ศักยภาพของ AI และใช้เวลาเตรียมการนานถึง 1 ปี ถือเป็นเรื่องยากและท้าทายของทีมผลิตรายการอย่างมากที่ต้องทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดให้ได้ผลงานที่ออกมาดีและเร็วที่สุดเพื่อให้ทันต่อการนำไปใช้ ขณะที่ทาง นภัสรพี อภัยวงศ์ ศิลปินที่ใช้ AI ช่วยสร้างสรรค์ผลงานและเจ้าของนิทรรศการภาพถ่ายด้วย AI ‘Resonances of the Concealed’ ที่หันมาทดลองใช้งาน AI ในฐานะศิลปินที่ต้องคอยอัปเดตให้ทันการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ เพราะ AI สามารถสะท้อนความเป็นตัวตนของเจ้าของผลงานที่เป็นคน Generate ได้ออกมาค่อนข้างง่ายและชัดเจน ....
แหล่งที่มา
ไทยรัฐ
แท็ก