นักเศรษฐศาสตร์โนเบล เตือน เรียน "STEM" เกาะกระแส AI เสี่ยงตกงาน

6 ม.ค. 67

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เผย การเน้นให้เด็กเรียนสะเต็ม (วิทย์ฯ-เทคโนโลยี-วิศวกรรมฯ-คณิตฯ) ตามกระแส AI เป็น “เมล็ดพันธุ์แห่งการทำลายตัวเอง” อาจตกงานในอนาคต แนะสาขาที่มีแววประสบความสำเร็จ

“STEM” (สะเต็ม) ย่อมาจาก Science (วิทยาศาสตร์) + Technology (เทคโนโลยี) + Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) + Mathematics (คณิตศาสตร์) ศาสตร์การเรียนสาขาที่มีความสำคัญและเชื่อมโยงกับการทำงานในสายอาชีพด้านต่างๆ โดยข้อมูลจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เผยว่า มีการเริ่มใช้ STEM ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา อันเนื่องมาจากปัญหาผลการทดสอบ PISA หรือโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for. International Student Assessment) ของประเทศ และการประชุมของแต่ละภาคส่วน ทำให้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการศึกษาของศาสตร์ทั้ง 4 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยก็มีการสนับสนุนและใช้งบประมาณในการพัฒนาศักยภาพการศึกษาด้านนี้มาตลอด ตั้งแต่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้มีการสานต่อมาจนถึงรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยได้แสดงอยู่ในไฟล์เอกสาร "งบประมาณฉบับประชาชน ประจำปีงบฯ พ.ศ. 2567" ว่าจะมีการใช้งบประมาณร่วม 123.41 ล้านบาท เพื่อจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาใน 15,000 โรงเรียน ให้เด็กสามารถสร้างทักษะและเสริมองค์ความรู้ เพื่อกรุยทางไปสู่สายงานและตำแหน่งที่มีผลตอบแทนดีในอุตสาหกรรม AI  แต่ทิศทางดังกล่าวดูเหมือนจะสวนทางกับความเห็นของ นักเศรษฐศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel) สาขาเศรษฐศาสตร์ มีการออกมาแสดงถึงความกังวลและเตือนถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกระแสดังกล่าว นาย Christopher Pissarides ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ แห่ง London School of Economics ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2553 จากการวิจัย “Search Friction” ทฤษฎีความขัดแย้งที่ศึกษาจากปัญหาด้านต่างๆ อาทิ สาเหตุภาวะคนว่างงานสูง ทั้งที่หลายบริษัทมีตำแหน่งเปิดรับมากมาย ไปจนถึงกระบวนการและแนวคิดที่สามารถนำไปสู่การลดภาวะคนว่างงานได้ เป็นต้น  ....

แหล่งที่มา

:

แท็ก

:

ข่าวที่คุณอาจสนใจ