ภัยคุกคาม “พายุทราย-ฝุ่น” เปลี่ยนวันเป็นคืน กลืนพื้นที่การผลิตของโลก

16 พ.ย. 66

ยูเอ็น เตือนภัยคุกคาม “พายุทราย-ฝุ่น” เกิดขึ้นบ่อยในบางพื้นที่ของโลก เปลี่ยนวันเป็นคืน กลืนพื้นที่การผลิตของโลก 1 ล้านตารางกิโลเมตรต่อปี 25% เกิดจากฝีมือมนุษย์

เปลี่ยนกลางวันเป็นกลางคืน กลืนพื้นที่กำลังผลิตของโลก 1 ล้านตารางกิโลเมตรต่อปี  ภาพสะท้อนของภัยคุมคามจาก "พายุทรายและฝุ่น" จากข้อมูล UNCCD ระบุว่า ทรายและฝุ่นสองพันล้านตัน มีน้ำหนักเท่ากับมหาปิรามิดแห่งกิซ่า 350 แห่ง เข้าสู่ชั้นบรรยากาศทุกปี ผู้เชี่ยวชาญของ UNCCD ระบุว่าปัญหามากกว่า 25% เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ สร้างความหายนะตั้งแต่เอเชียเหนือและเอเชียกลางไปจนถึงแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา ผลกระทบต่อสุขภาพยังไม่เป็นที่เข้าใจ พายุทรายและฝุ่นเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยตระหนักนัก ซึ่งขณะนี้พบบ่อยขึ้นมากในบางพื้นที่ทั่วโลก ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (UNCCD) คำเตือนดังกล่าวมาพร้อมกับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่มีการประชุม 5 วันในเมืองซามาร์กันด์ของอุซเบกิสถาน ช่วงวันที่ 13-17 พ.ย. ประกอบด้วยการประชุมระดับสูงเพื่อแก้ไขผลกระทบจากพายุทรายและพายุฝุ่นที่มีต่อการเกษตร อุตสาหกรรม การขนส่ง คุณภาพน้ำ-อากาศ และสุขภาพของมนุษย์ทั่วโลก ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ การประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ COP28 จะเปิดขึ้นในดูไบ การประชุมดังกล่าวเผยแพร่ข้อมูลผ่านแดชบอร์ดข้อมูลใหม่ของ UNCCD แสดงให้เห็นว่าขณะนี้โลกสูญเสียพื้นที่ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและผลผลิตเกือบ 1 ล้านตารางกิโลเมตรทุกปี หรือประมาณ 4.2 ล้านตารางกิโลเมตร ตารางกิโลเมตรระหว่างปี 2558-2562 หรือพื้นที่รวมกันโดยประมาณของ 5 ประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า อิบราฮิม เตียว เลขานุการฝ่ายบริหารของอนุสัญญาฯ ระบุว่า พายุทรายและพายุฝุ่นกลายเป็นความท้าทายอันน่าสะพรึงกลัวต่อการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน ทว่าพายุเหล่านี้ที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะกิจกรรมของมนุษย์ ย่อมสามารถลดลงด้วยการลงมือปฏิบัติของมนุษย์เช่นกัน ทีมผู้เชี่ยวชาญของอนุสัญญาฯ ระบุว่าพายุทรายและพายุฝุ่นเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติตามฤดูกาลและเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในบางภูมิภาค แต่พายุเหล่านี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะการจัดการที่ดินและน้ำอันย่ำแย่ ภาวะแห้งแล้ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ....

แหล่งที่มา

:

ข่าวที่คุณอาจสนใจ