“เทคโนโลยีลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ขับเคลื่อนธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

23 ส.ค. 66

สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) อาจไม่ใช่สิ่งที่ห่างไกลความเป็นจริง จนเกินไปหากมีเทคโนโลยีมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายแต่ประสิทธิภาพการใช้งานจริงอาจยังต้องใช้เวลาในการพัฒนา
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวในงานเวที “เสวนา Sustainable Executive Forum ความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ พร้อมแนะภาคธุรกิจไทยปรับตัวเพื่อความยั่งยืน” จัดโดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ว่า การที่จะลดคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจกนั้น องค์กรจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยเฉพาะการหาเทคโนโลยีมาดิสรัปชัน ด้วยการทำการจัดเก็บคาร์บอนในอากาศ ให้กลายมาเป็นคาร์บอนเหลว และกักเก็บลงใต้พื้นดิน รวมถึงตรวจวัดการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้รู้ว่าปล่อยไปเท่าไร และจะต้องหามาชดเชยเท่าไร ผ่านโปรเจกต์ Northern Lights เป็นความพยายามร่วมกันของรัฐบาลนอร์เวย์ และบริษัทพลังงาน Equinor, Shell และ Total ซึ่งแต่ละโครงการมีรากฐานที่หยั่งรากลึกในการทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์ “ความร่วมมือดังกล่าวกำลังพยายามสร้างมาตรฐานและปรับขนาดการดักจับและจัดเก็บคาร์บอนหรือ CCS:Carbon capture and storage (CCS) ทั่วยุโรป และใช้พลังงานสะอาดเพื่อเป็นแหล่งพลังงานใน Data center ในปี 2568 อีกด้วย” ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :SDGs คือการให้ความสำคัญในด้านพลังงาน ด้านน้ำ และด้านการปล่อยของเสีย เป็นอย่างมาก แน่นอนว่าต่อไปองค์กรจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบหรือวิกฤติสภาพอากาศ เพราะเราอยู่ใน Ecosystem เดียวกัน ดังนั้น การทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับแนวทางการทำธุรกิจในรูปแบบความยั่งยืนของไมโครซอฟท์ มองเรื่องผลประโยชน์มากกว่า โดยความยั่งยืนนั้นไม่ใช่การทำสังคมสงเคราะห์ ไมโครซอฟท์จึงมีการทำระบบข้อมูลผ่านมาตรการ 5R คือRecord, Report, Reduce, Remove, Replace ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะให้สามารถรู้สถานะคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของตนเอง และปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนได้ตรงตามเป้าหมาย
สำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับการลดคาร์บอน องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้รวบรวมเทคโนโลยีเพื่อลดคาร์บอนไว้ 3 ส่วนคือ เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน (17 เทคโนโลยี) เช่น พลังงานทดแทนและการจัดการของเสีย, เทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (19 เทคโนโลยี) เช่น CSTR (Continuous Stirred Tank Reactor), Dry Fermentation และเทคโนโลยีส่วนเสริม (4 เทคโนโลยี) เช่น การกักเก็บพลังงานทางด้านเคมี (Chemical Energy Storage) ได้แก่ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน, แบตเตอรี่ลิเทียมซัลเฟอร์, รีดอกซ์แบตเตอรี่, เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานแบบฟลายวีล (Flywheel Energy Storage) เป็นต้น เทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีส่วนช่วยภาคธุรกิจเข้าใกล้เป้าหมายลดคาร์บอนได้ง่าย และเร็วขึ้นแต่ก่อนจะถึงจุดนั้นการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นการปรับตัวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ....

ข่าวที่คุณอาจสนใจ