รายละเอียดเอกสาร

ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม อาหารสัตว์

กฎระเบียบ

ไทย

กรมสรรพสามิต

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น

2565/11/10

10

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 265 ง (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565) หน้า 25-29 (ท้ายประกาศ 5 หน้า)

ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น

เพื่อให้การเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น เป็นไปอย่างถูกต้อง มีมาตรฐาน และโปร่งใส อาศัยอำนาจตามความใน (3) ของประเภทที่ 02.03 ของบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2565 อธิบดีกรมสรรพสามิตจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ในประเภทที่ 02.03 (3) โดยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564 ข้อ 2 ในประกาศนี้

“เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น” หมายความว่า เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีรายชื่อประเภทเครื่องดื่มตามที่กำหนดในบัญชีอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักท้ายประกาศกรมสรรพสามิตที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน (2) ของประเภทที่ 02.03 และมีอัตราส่วนผสมตามที่กำหนดในบัญชีอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่นท้ายประกาศนี้ ซึ่งไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไม่ใช่เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนเกิน 5 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่มปริมาตรสุทธิหนึ่งลิตร ทั้งนี้ ต้องมีการเติมสารอาหารหรือสารอื่นตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และได้รับเลขสารบบอาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารแล้ว

ข้อ 3 เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้ ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังต่อไปนี้ ....