กฎหมาย EUDR ของอียูสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ประกอบการไทยมากพอสมควร ล่าสุดทราบว่าประเทศกำลังพัฒนารวมถึงไทยได้มีการดำเนินการร่วมกันในประเด็นนี้
กฎหมายของอียูว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม่ทำลายป่ามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 มีสาระสำคัญกำหนดให้ผู้นำเข้าและผู้ผลิตของอียูในสินค้า 7 ประเภท ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เนื้อวัว ไม้ กาแฟ โกโก้ ถั่วเหลือง และสินค้าปลายน้ำบางรายการต้องยื่น Due Diligence statement รับรองว่าสินค้าดังกล่าวไม่ได้มาจากพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า (deforestation-free) โดยผู้ส่งออกสินค้าข้างต้นไปยังอียูจะต้องส่งพิกัดภูมิศาสตร์ และข้อมูลหลักฐานประเภทที่ดินให้แก่บริษัทนำเข้าของอียู เพื่อบริษัทดังกล่าวใช้ประกอบการจัดทำรายงานเพื่อยืนยันว่าสินค้าเหล่านั้นถูกต้องตามกฎหมายของประเทศผู้ผลิต และไม่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งจะเพิ่มขั้นตอนและค่าใช้จ่ายอย่างมาก ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเกษตรกรและผู้ส่งออกของไทยจำนวนกว่า 1.7 ล้านครัวเรือน ตลอดจนมูลค่าการส่งออกสินค้ารวม 7 ประเภทไปอียู คิดเป็น 6.2 หมื่นล้านบาทในปี 2564 โดยเฉพาะยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราซึ่งมียอดส่งออกมากที่สุดโดยมีมูลค่าถึง 6 หมื่นล้านบาท ล่าสุด 17 ประเทศกำลังพัฒนารวมถึงไทยได้ร่วมกันยื่นหนังสือเรียกร้องให้อียูทบทวนการปฏิบัติตามกฎหมาย EUDR โดยสาระสำคัญของหนังสือที่ประเทศกำลังพัฒนา 17 ประเทศ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลัมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เอกวาดอร์ กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ปารากวัย เปรู กานา โกตติวัวร์ ฮอนดูรัส และไทย ส่งถึงผู้นำสูงสุดของ 4 สถาบันของสหภาพยุโรป ปะกอบด้วย 1.ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป 2.ประธานคณะมนตรียุโรป 3.ประธานรัฐสภายุโรป และ 4.ประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยสเปน เมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังนี้ ....