“พันธุศาสตร์ไฟฟ้า” ควบคุมการทำงานของยีนด้วยแบตเตอรีก้อนเล็กสำเร็จ

6 ส.ค. 66

ในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์จะก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่งด้วย “พันธุศาสตร์ไฟฟ้า” (electrogenetic) ซึ่งเป็นวิธีควบคุมการทำงานของหน่วยพันธุกรรมหรือยีนในร่างกาย เพื่อให้ยีนแสดงออกหรือหยุดการทำงานได้ตามใจชอบ โดยอาศัยเพียงการส่งสัญญาณไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรีขนาดเล็ก อย่างเช่นถ่าน AA หรือ AAA เท่านั้น

ในรายงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Metabolism ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน ETH Zurich ของสวิตเซอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิคพันธุศาสตร์ไฟฟ้า ควบคุมการทำงานของเซลล์ร่างกายมนุษย์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมและปลูกถ่ายลงในตัวหนูทดลอง จนเซลล์ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษดังกล่าว สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ตามคำสั่ง และสามารถแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของหนูที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ ทีมผู้วิจัยหวังว่าจะสามารถนำวิธีการข้างต้นไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะที่คนไข้สามารถสวมหรือพกติดตัวได้ตลอดเวลา เหมือนกับนาฬิกาสมาร์ตวอตช์ (smart watch) ที่สามารถวัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้วในปัจจุบัน เพียงแต่อุปกรณ์อัจฉริยะรุ่นใหม่จะสามารถสั่งเปิด-ปิดสวิตช์การทำงานของยีนได้ด้วย เทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อว่า “ดาร์ต” (DC-actuated regulation technology – DART) โดยศาสตราจารย์มาร์ติน ฟุซเซเนกเกอร์ ผู้นำทีมวิจัย บอกว่ามันสามารถทำงานได้โดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรงระดับมาตรฐานเพียง 1.5 โวลต์ ....

ข่าวที่คุณอาจสนใจ